ทำไมต้องจ้างทนาย??

ทนายสำคัญยังไง ไม่จ้างทนายได้ไหม

ทำไมต้องจ้างทนาย

คำถามเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาของใครหลายคนเวลาถูกฟ้องหรือเวลาฟ้องคนอื่น และมักเป็นสาเหตุของปัญหา “การต่อรองค่าจ้างทนายความ” ที่ทนายทุกคนพบเจอเป็นประจำ 

โดยหลักแล้ว อาชีพทนายความเป็นอาชีพอิสระ (freelance) และจัดเป็นวิชาชีพเฉพาะทางวิชาชีพหนึ่ง มีมาตรฐานทางจริยธรรมคือมรรยาททนายความ โดยมีสภาวิชาชีพก็คือ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ คอยกำกับดูแลการประกอบอาชีพของทนายความในประเทศไทยด้วยการบังคับใช้พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 หากเปรียบกับวิชาชีพอื่น เช่น อาชีพหมอ ที่มีมาตรฐานทางจริยธรรมคือจริยธรรมทางการแพทย์ มีสภาวิชาชีพ คือ แพทยสภา ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 เพื่อกำกับดูแลการประกอบอาชีพของหมอ ไม่ให้ใช้วิชาความรู้เอารัดเอาเปรียบผู้รับบริการ และการจะเป็นทนายความได้นั้น ถึงแม้จะเรียนจบคณะนิติศาสตร์ก็มิใช่ว่าจะเป็นทนายได้ ต้องผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ, ผ่านการทดสอบ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทนายจากสภาทนายความเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบอาชีพทนายความได้

ทนายสำคัญยังไง??

เว็บไซต์ FindLaw ได้เขียนบทความ Top Ten Reasons to Hire a Lawyer ( 10 เหตุผลที่จ้างทนายความกัน) ไว้ดังนี้ค่ะ

ไม่ใช่ว่าทุกๆคดีจะต้องมีทนาย แต่อย่างไรก็ตามในหลายๆสถานการณ์ก็ไม่ควรแบกรับความเสี่ยงตามลำพังโดยไม่มีทนายที่มีประสบการณ์คอยความช่วยเหลือได้ ในความเป็นจริง การมีตัวแทนทางกฎหมายที่ดีอาจจะมีราคาที่ไม่ถูกนัก ถึงอย่างนั้นก็ช่วยให้คุณหลุดพ้นจากสถานการณ์น่าอึดอัด เช่น การหย่าร้างที่ล้มเหลวหรือการตกงาน เป็นต้น เมื่อแต่ละคนมีปัญหาทางกฎหมายต่างกันไป ก็จะมีช่วงที่ควรจ้างทนายจริงๆ
10 เหตุผลสุดฮิตที่จ้างทนายมีดังนี้

ทำไมต้องจ้างทนาย reason hire lawyer


ในบางกระบวนการ อาจไม่จำเป็นต้องมีทนายเลยก็ได้ เช่น คุณเป็นโจทก์หรือผู้เสียหายในคดีอาญาหรือคดีที่ขึ้นสู่ศาลปกครองหรือศาลคดีอาญาทุจริต คุณอาจไม่จำเป็นต้องหาทนาย เพราะในกระบวนการเหล่านี้มักมีบุคคลที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย อาทิ พนักงานอัยการ, เจ้าพนักงานปกครอง ดำเนินการช่วยเหลือได้ แต่ถ้าคุณเป็นจำเลยในคดีแพ่ง บุคคลดังกล่าวจะอาจไม่ช่วยคุณเพราะอยู่คนละฐานะหน้าที่

การมีทนายเปรียบเสมือนมีเพื่อนคู่คิด มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ คำให้ปรึกษาเพื่อวางแผนป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นตัวแทน เป็นมือไม้ ดำเนินการในศาลหรือติดต่อราชการต่างๆแทนตัวความ

ในคดีกู้ยืม มีลูกหนี้หลายคนที่พูดไม่เก่ง คิดไม่ทันฝ่ายเจ้าหนี้ ก็ได้ทนายช่วยต่อรองเจรจาให้ผลลัพธ์ออกมาลงตัว สมประโยชน์กับทุกฝ่าย

ในคดีที่ลูกหนี้ขี้เหนียว เจ้าหนี้ก็ต้องใช้บริการทนายเพื่อออกแรงทวงหนี้แทนตนเอง ดีกว่าไปเองแล้วต้องความดันขึ้นกับลูกหนี้ประเภทไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย

อย่างน้อยๆ มีทนายช่วยคิดก็ดีกว่าคิดเองคนเดียว ฉะนั้นหากคุณดำเนินการเอง คิดเอง รวบรวมพยานหลักฐานสู้คดีกับอีกฝ่ายเอง โดยไม่ต้องมีทนายก็ย่อมทำได้ แต่บางเรื่องก็ไม่ควรเอาตัวเองไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็นนะ

บางกรณี กฎหมายก็บังคับให้คุณจำเป็นต้องมีทนายความ เช่น กรณีเป็นจำเลยในคดีที่อัตราโทษประหารชีวิตหรือเป็นจำเลยที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173) หากเป็นจำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตและคุณไม่มีทนายความ  ศาลก็จะจัดหาทนายให้ (แม้จะไม่เต็มใจก็เถอะนะ) หากคุณอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์และคุณไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย (เป็นชื่อเรียกทนายที่ดำเนินคดีในศาลเยาวชน) ศาลก็จะจัดหาให้เช่นกัน (แม้จะไม่เต็มใจก็ตาม) ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญค่ะ

บางครั้ง มีการทนายก็เหมือนมีกันชน ลดความร้อนแรงและแรงปะทะระหว่างคู่กรณีก่อนขึ้นศาล เช่น คดีหย่า, คดีแรงงาน มีหลายครั้งที่ทนายได้เป็นคนกลางห้ามมวยระหว่างคู่สามีภรรยาก่อนศาลไกล่เกลี่ยซะอีก

ในงานบางประเภท คุณอาจจำเป็นต้องใช้บริการทนาย เช่น งานรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notary Public) เพื่อนำเอกสารไปใช้ทำนิติกรรมในต่างประเทศ เป็นต้น

ฉะนั้น ก็คงจะพอเข้าใจบ้างแล้วนะคะว่า ทำไมทนายจึงยังมีความสำคัญอยู่


บางคนคิดว่า ถามทนายแพง ไปถามเด็กนิติหรือโพสต์ถามในเว็บบอร์ดง่ายกว่า
ทนายรินรดาเห็นว่าไม่ผิดที่จะคิดแบบนี้ แต่ผู้ที่กำลังเรียนย่อมต่างกับผู้เชี่ยวชาญนะคะ ฝากไว้ให้คิดด

มองแรง

แล้วพบกันในบทความหน้าค่ะ

ทนาย รินรดา อุดร


        ทนายรินรดา

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก FindLaw